สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

เสริมหน้าอก (MAMMOPLASTY)

เหมาะสำหรับ

     - ผู้ที่มีหน้าอกเล็ก ต้องการเสริมให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้น

     - ผู้ที่มีหน้าอกเล็กลงหลังการมีลูก แล้วต้องการเพิ่มขนาดให้สวยดังเดิม

     - ผู้ที่หน้าอกสองข้าง ไม่เท่ากันดูไม่สวยงาม

        การผ่าตัดเสริมหน้าอก เป็นการผ่าตัดที่หลายคนทำแล้วกลัวเจ็บ ซึ่งก็เจ็บจริง แต่เราสามารถลดความเจ็บปวดได้

โดยการให้

ยาลดปวด ลดบวม ทำเหลือเพียงความรู้สึกตึง ๆมากกว่า “ไม่เหมือนรถทับหรอกนะครับ…” การทำเต้านมจะปวดมากที่สุด

ในกรณีที่ใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ หรือใส่ขนาดใหญ่มาก แต่จะเจ็บน้อยที่สุด ถ้าใส่ซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ และทำจากแผลใต้

ราวนม

ซิลิโคนเสริมเต้านมที่ MDG นั้น

       ทางคลินิกของเราเลือกใช้ซิลิโคนที่มีมาตรฐานผ่านการรับรองจาก องค์การอาหารและยา(อ.ย.) ทั้งของอเมริกาและไทย

ซึ่งผลิตได้มาตรฐานสูง เท่านั้น การใช้ซิลิโคนที่ดี ลดปัญหาซิลิโคนรั่ว นมแข็งผิดรูป ในอนาคตได้ เลือกขนาดอย่างไรดี

     ก่อนผ่าตัดแพทย์จะให้คำแนะนำในการเลือกขนาด เต้านม ว่าต้องการขนาดใหญ่เท่าไร (กี่ cc.) ซึ่งมีตั้งแต่ 100-500 cc.

แล้วแต่ความต้องการให้หน้าอกขนาดใหญ่ขึ้น การเลือกขนาดต้องคำนึงถึง

        1. เนื้อนม ว่ามีมากพอที่จะรองรับซิลิโคนได้หรือไม่ ถ้าเนื้อนมน้อยใส่ซิลิโคนใหญ่ก็จะทำให้คลำเจอขอบซิลิโคนได้ ทำให้ไม่

เป็นธรรมชาติ

        2. ความกว้างของช่วงไหล่ ความสูงของผู้มาเสริม

        3. เป้าหมาย ที่ผู้มาเสริมต้องการว่าอยากได้ใหญ่แค่ไหน

การเสริมใต้เนื้อนม

        - ถุงนมทรงหยดน้ำผิวทราย

        - ถุงนมทรงกลมผิวเรียบ

         - ถุงนมแบบต่างๆ ภาพก่อน-หลังเสริมหน้าอก ซิลิโคนทรงไหนดี (ทรงกลมกับทรงหยดน้ำ)


         1. ซิลิโคนทรงหยดน้ำ ดีกว่าทรงกลมในคนที่ ทุนเดิมมีน้อย คือเnนื้อนมมีน้อย กลุ่มนี้ถ้าใส่ทรงกลม จะดูไม่สวยเพราะ

จะเห็นชัดว่ากลมเป็นของเทียม การใส่หยดน้ำจะดูเป็นธรรมชาติกว่า ไม่ต้องนวดเลยหลังการผ่าตัด สามารถใส่ทางใต้รักแร้

และใต้นม

         2. ซิลิโคนทรงกลม เหมาะกับคนที่มีเนื้อนมอยู่บ้าง ในปริมาณ ซีซี เท่ากันจะดูใหญ่กว่าทรงหยดน้ำ เวลาผ่าตัดนั้นทำ

ง่ายกว่า เสร็จเร็วกว่า หลังการผ่าตัดต้องการ การดูแล เช่น นวดเต้านม จัดให้เข้าทรง

ใส่ใต้กล้ามเนื้อ หรือใต้เนื้อนม อย่างไหนจะดีกว่ากัน…?

          ใส่ใต้กล้ามเนื้อดีกว่าใส่ใต้เนื้อนมตรงที่ มีโอกาสนมแข็งหรือที่ เรียกว่า มีแคปซูล (Capsular Contracture) น้อยกว่า

แต่ข้อเสียคือ หลังทำเจ็บกว่า จับแล้วไม่นิ่ม บางคนชอบออกกำลังกาย จะเห็นเต้านมเบี้ยวได้เวลายกแขน แผลที่ไหนดี ใต้ราว

นม รักแร้ หรือรอบปานนม

         1. ใต้ราวนม

เป็นแผลหลบอยู่ใต้ราวนมด้านข้าง ยาวประมาณ 3-4 cm. มองไม่เห็นแม้เวลานอน ถ้ามองตรงๆ แผลใต้ราวนมนี้คนที่เห็นก็

มีเพียงแฟนเราเท่านั้น คนอื่น ๆ ไม่ได้เห็นหรอก ดังนั้นเวลาไปไหนมาไหน ก็ไม่ต้องระวัง เวลาเดิน หรือขึ้นรถไฟฟ้า ก็ไม่มีคน

เห็น การผ่าตัดทำได้เร็วกว่า จัดรูปทรงได้ง่ายกว่า เจ็บน้อยกว่า ผ่าจากบริเวณอื่น

          2. บริเวณรักแร้  ข้อดี คือ แผลไม่ได้อยู่บริเวณนม ทำให้รู้สึกมั่นใจหลังเสริม และเวลาหายประมาณ 1-3 เดือนแผลมักจะ

สวยดีไม่ค่อยมีรอยชัดเนื่องจากอยู่บริเวณข้อพับรักแร้

แต่ข้อเสีย คือ หลังทำเจ็บแผลกว่าใต้ราวนม และในกรณีถ้าต้องแก้ไขมักแนะนำให้แก้ไขทางแผลใต้ราวนมเท่านั้น เพราะการ

แก้ไขทางรักแร้แม้จะทำได้ แต่ก็ได้ผลไม่ดี

           3. บริเวณปานนม

 ข้อดี ของการผ่าตัดบริเวณปานนม คือ สามารถยกกระชับหน้าอก ร่วมด้วย ในผู้ที่มีเต้านมหย่อนคล้อย

ส่วนข้อเสีย คือ จะเห็นเป็นแผลผ่าตัดอยู่ที่บริเวณปานนม และอาจทำให้หัวนมชา หรือทิ่มลงผิดรูปได้ในผู้ป่วยบางราย

หลังสริมเต้านมให้นมลูกได้หรือไม่

           หลังเสริมเต้านม สามารถตั้งครรภ์ได้ ให้นมลุกได้ โดยไม่มีอันตรายต่อเด็ก เนื่องจากซิลิโคนที่มีมาตรฐานจะไม่มีการรั่ว

ซึมออกมา แล้วแทรกซึมเข้าสู่น้ำนมได้

     

การเสริมเต้านมทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่

           การใช้ซิลิโคนเต้านมที่มาตราฐานไม่เพิ่ม โอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม และโรคอื่น แต่ผู้ที่เสริมเต้านมก็ไม่ควรละเลย

ในการตรวจเช็คมะเร็งเต้านมเป็นประจำ ควรคลำตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน หลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์และทำ

การเอกซ์เรย์ แมมโมแกรม (Mammogram) ทุกปีเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี


ารผ่าตัด

            การผ่าตัดทำโดยการให้ยาสลบ ผุ้ป่วยจะหลับไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าตัด แผลผ่าตัดจะมีขนาดประมาณ 3-4 เซนติเมตร

ซึ่งจะเนียนสวยเมื่อเวลาผ่านไป ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นการผ่าตัดที่เสียเลือดน้อย มีความเสี่ยงน้อยมาก


การดูและหลังการผ่าตัด

        - หลังผ่าตัดจะมีสายเพื่อระบายเลืดและน้ำเหลืองเล็กน้อย

        - ต้องค้างที่โรงพยาบาล 1 คืน

        - หลังผ่าตัดจะมีการปวดระบมบริเวณหน้าอกและรักแร้ ประมาณ 3-7 วัน หลังจากนั้นจะค่อยๆดีขึ้น

        - อาจมีรอยฟกช้ำได้ในผู้ป่วยบางราย ไม่ต้องทำแผลล้างแผลใดๆ รอยจะค่อยๆหายไปเอง

        - หลังผ่าตัดจะได้รับยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดบวม ซึ่งต้องรับประทานให้หมด

        - หลังกลับบ้านแพทย์จะนัดมาตรวจซ้ำ ในวันที่ 5 หลังการผ่าตัด เพื่อดูแผลผ่าตัด ให้น้ำเสื้อชั้นในแบบไม่มีโครงเหล็ก

หรือบิกินนี่ผูกคอมาด้วย

        - แพทย์จะสอนวิธีนวดหน้าอกเป็นรายๆไปตามความเหมาะสม ส่วนใหญ่จะเริ่มนวดหลังผ่าตัดไปแล้ว 2 สัปดาห์

        - สามารถขยับตัว หรือ นอนท่าใดก็ได้

        - สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์

        - ไม่ควรใส่เสื้อชั้นในแบบมีโครงเหล็ก ในช่วง1เดือนแรกหลังการผ่าตัด

        - หลังผ่าตัดสามารถกลับไปทำงานเบาได้ ภายในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด และสามารถทำงานและออกกำลังกายได้

เต็มที่หลังการผ่าตัด 2 เดือน

view